ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก Welcome to the website of the  Changpuek Subdistrict Administrative Organization

ปลัด

สายตรงผู้บริหาร

ร้องเรียนร้องทุกข์

Facebook

กองทุนหลักประกันสุขภาพ

ข่าวสารอาเซียน

ศูนย์ดำรงธรรม

ระบบจัดการเว็บไซต์

สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 19/11/2558
วันนี้
65
เมื่อวานนี้
64
เดือนนี้
2,208
เดือนที่แล้ว
3,384
ปีนี้
29,337
ปีที่แล้ว
33,544
ทั้งหมด
171,958
ไอพี ของคุณ
44.200.117.166

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
 


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก

สภาพทั่วไป


1)  ลักษณะที่ตั้ง



          องค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก อยู่ทางทิศตะวันตกของศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ และอยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่  ปัจจุบันที่ทำการตั้งอยู่เลขที่  231 หมู่ที่ 1  ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่  จังหวัดเชียงใหม่  มีเนื้อที่ประมาณ  23 ตารางกิโลเมตร  มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม

      

2) อาณาเขต  

  

ทิศเหนือ           ติดต่อ    ตำบลดอนแก้ว  อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้              ติดต่อ    ตำบลสุเทพ  
ทิศตะวันออก      ติดต่อ    เทศบาลนครเชียงใหม่
ทิศตะวันตก       ติดต่อ    ตำบลสุเทพ

 

3)  ลักษณะภูมิประเทศ



          พื้นที่ทางกายภาพส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม (เขตราชพัสดุ) ซึ่งกองทัพบกใช้ประโยชน์ และบางส่วนอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย  อยู่ติดกับภูเขาหนึ่งลูก ได้แก่ดอยสุเทพ  ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยต่าง ๆ ในตัวจังหวัดเชียงใหม่

      

4) ลักษณะภูมิอากาศ


          มีสภาพอากาศเย็นเกือบตลอดทั้งปีมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 12.5 – 39.0 ºc แบ่งได้เป็น 3 ฤดู  คือ
    ฤดูร้อน   เริ่มตั้งแต่เดือน   มีนาคม      ถึงเดือน     พฤษภาคม   อุณหภูมิอยู่ระหว่าง     13.8 – 38.0  องศา
    ฤดูฝน    เริ่มตั้งแต่เดือน   มิถุนายน     ถึงเดือน     ตุลาคม       อุณหภูมิ อยู่ระหว่าง    20.6 – 35.7 องศา  
    ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน   พฤศจิกายน ถึงเดือน     กุมภาพันธ์    อุณหภูมิอยู่ระหว่าง     8.5 – 21.5   องศา



5. ประชากร/ลักษณะทางการปกครอง 


        ประชากรทั้งสิ้น  2,283  คน     แยกเป็นชาย  1,140  คน    หญิง  1,143  คน  มีความหนาแน่นเฉลี่ย  525.09 คน / ตารางกิโลเมตร 
ประชากรในตำบลช้างเผือกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร  เช่น  ทำสวนลิ้นจี่  ข้าราชการบำนาญ  และรับจ้าง   มีจำนวนหมู่บ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
จำนวน 4  หมู่บ้าน   โดยแยกเป็น

(1) หมู่บ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก ทั้งหมู่บ้าน    ดังนี้

หมู่ที่

ชื่อบ้าน

จำนวนประชากร

จำนวนครัวเรื่อน

ชื่อผู้นำ

ชาย

หญิง

รวม

4 บ้านขุนช่างเคี่ยน 567 582 1,149 114 นายจุมพล  ยั่งยืนกุล
รวม 567 582 1,149 114  


 (2)  หมู่บ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก บางส่วน  ดังนี้

หมู่ที่

ชื่อบ้าน

จำนวนประชากร

จำนวนครัวเรื่อน

ชื่อผู้นำ

ชาย

หญิง

รวม

1 บ้านช่างเคี่ยน 401 351 752 1,889 นายบุญธรรม ชัยชาญ
2 บ้านเจ็ดยอด 119 149 268 65 นางศุภฤดี ดวงตุ้ย
3 บ้านข่วงสิงห์ 53 61 114 40 นายพงศธร ขยัน
รวม 573 561 1,134 2,108  

 

6.สภาพทางเศรษฐกิจ



(1) มีหน่วยงาน/กลุ่มองค์กรต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่

1.) ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่และหน่วยงานย่อย     จำนวน ..................หน่วยงาน            

2.) หน่วยธุรกิจ     จำนวน     56   แห่ง    ได้แก่

- โรงแรม     จำนวน   1    แห่ง
-  หอพัก     จำนวน   10  แห่ง
-  ศูนย์แสดงสินค้าการเกษตรภาคเหนือ      จำนวน  1  แห่ง
-  ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าแห่งชาติเฉลิมประเกียรติ  จำนวน  1  แห่ง
-  ศูนย์พัฒนากีฬา มทบ.ที่ 33 จำนวน  1  แห่ง (สนามม้า,สนามกอล์ฟ,สนามยิงปืน)
-  ร้านอาหาร    จำนวน      30  ร้าน
-  ร้านค้าต่างๆ    จำนวน      12  ร้าน
-  ร้านสะดวกซื้อ   จำนวน       1   ร้าน

3.) กลุ่มอาชีพ            จำนวน     5   กลุ่ม    แยกเป็น


-  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและพัฒนาสตรี 700 ปี 
-  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและพัฒนาสตรีหนองฮ่อ
-  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและพัฒนาสตรีบ้านข่วงสิงห์ 
-  กลุ่มวิสาหกิจกาแฟดอยขุนช่างเคี่ยน
-  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและพัฒนาสตรีบ้านขุนช่างเคี่ยน



7. สภาพทางสังคม


1)  ศาสนา   ประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือกส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ  จำนวน  60 %  นับถือผีบรรพบุรุษ
 จำนวน  20 % ศาสนาคริสต์  15  %  ศาสนาอื่น ๆ 5 %

        สถานที่สำคัญทางศาสนาที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก  
        - สำนักสงฆ์ (ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4)         จำนวน   1   แห่ง
        - โบสคริสต์จักร,คาทอริค                จำนวน   2  แห่ง
        - ศูนย์ปฏิบัติธรรมหนองฮ่อ               จำนวน   1  แห่ง

      

2.)  งานประเพณี เทศกาล
       - งานประเพณีปีใหม่ม้ง  จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ที่บ้านขุนช่างเคี่ยน โดยยึดถือเอาวัน  ..................
       - ประเพณีสงกรานต์ (ดำหัวผู้สูงอายุ) จัดขึ้นทุกปี ในช่วงเดือน เมษายน
       - ประเพณีลอยกระทง จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี  ในช่วงเดือนพฤศจิกายน

      

3.) การศึกษา   ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก มีโรงเรียนในสังกัดของ สพฐ. จำนวน 1 แห่ง ได้แก่โรงเรียนศรีเนห์รู เปิดสอนตั้งแต่ระดับ  อนุบาล 1 จนถึง  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน  1  แห่ง  ได้แก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านขุนช่างเคี่ยน  ซึ่งอยู่ในสังกัดของ อบต.ช้างเผือก

     

4.) การสาธารณสุข    การบริการด้านสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก  มีศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง  คือ  โรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพประจำตำบล  ตั้งอยู่หมู่ที่  2  บ้านเจ็ดยอด   ซึ่งมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพอนามัย การให้ภูมิคุ้มกันโรค  การป้องกันโรค  การระงับโรคติดต่อ  และการวางแผน
ครอบครัว 
   
     

5.) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
        - ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร (รด.) จำนวน   1 แห่ง
        -  สถานีตำรวจภูธรในตำบล        จำนวน   2  แห่ง
        -  กองร้อยอาสารักษาดินแดน        จำนวน   1  แห่ง

     

6.)  การคมนาคม  การเดินทางสะดวกรวดเร็ว  มีถนนสายหลัก 3 สาย ได้แก่ ถนนคันคลองชลประทานตั้งแต่แยกโรงแรมเชียงใหม่ภูคำ
ผ่านสี่แยกหนองฮ่อ ไปทางศูนย์บ้านพัก 700 ปี , ถนนของกรมทางหลวง ตั้งแต่สี่แยกหนองฮ่อผ่านไปทางสถานีตำรวจภูธรช้างเผือก,ถนนของแขวงการทาง
เชียงใหม่ ตั้งแต่สี่แยกหนองฮ่อผ่านทางด้านข้างศูนย์ประชุมและจำหน่ายสินค้าแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สิ้นสุด หน้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก
นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีสายย่อยๆ ในพื้นที่อีกหลายสาย

การบริการขั้นพื้นฐาน

     1.)  การไฟฟ้า  ประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบมีไฟฟ้าใช้ทุกหลังคาเรือน

แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ

      1.)  ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
        พื้นที่ป่าที่สำคัญ  ได้แก่  ยอดดอยปุย  ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย  เป็นแหล่งต้นน้ำห้วยช่างเคี่ยน  ห้วยแม่หยอก หนองเขียว
      
      2.)  แหล่งน้ำธรรมชาติ
        (1)  ฝายแม้ว           จำนวน       365    ฝาย
        (2)  ประปาภูเขา        จำนวน        2      แห่ง
        (3)  น้ำตก               จำนวน        2      แห่ง